วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Fiber to the Home

“Fiber to the Home คือระบบเส้นใยแสงที่จะทำการส่งผ่านข้อมูลจาก Central Office หรือชุมสายของผู้ให้บริการไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการ โดยศักยภาพตามมาตรฐานของ Fiber to the Home ใหม่ล่าสุดที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันนี้ คือสามารถส่งข้อมูลไปถึงบ้านของเรา และส่งจากบ้านของเราไปยังชุมสายได้ความเร็วมากที่สุดถึงระดับ 2.5 Giga-bit per second (Gbps) หรือประมาณ 2,500,000,000 บิต / วินาที ถ้าจะให้เห็นภาพคือ ระบบบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตที่เราใช้อยู่ตามบ้านทุกวันนี้คือ ADSL อย่าง High speed Internet ที่บอกว่าความเร็ว 1 Mbps นั่นประมาณ 1,000,000 บิต / วินาที ก็จะเห็นว่า Fiber to the Home เร็วกว่าถึง 2,500 เท่า แล้วอย่างความเร็วของ High speed Internet ผ่านระบบ ADSL นั้น ในส่วนความเร็วของการ Upload นั้นจะต่ำกว่าความเร็วของการ Download แต่ถ้าเป็น Fiber to the Home ทั้ง upload download ความเร็วมากที่สุดจะเท่ากันคือ 2.5 Gbps นอกจากนั้น ADSL นี่สำหรับบ้านที่อยู่ไกลจากชุมสายมากจะได้ความเร็วน้อยลงไปอีก เนื่องจากใช้ข้อมูลที่อยู่ที่ความถี่สูงไม่สามารถวิ่งผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ระยะทางไกล โดยทั่วไปความเร็วของ ADSL จะพอรับประกันได้ในระยะไม่น่าจะเกิน 5 กิโลเมตร ฉะนั้นถ้าบ้านใครไกลจากชุมสายออกไปเกิน 5 กิโลเมตรก็จะใช้ความเร็วได้ไม่เต็มที่ แต่ Fiber to the Home จะรองรับระยะการส่งข้อมูลได้ไกลถึง 20 กิโลเมตรโดยความเร็วไม่ตกลง”

การเรียนรู้สู่เทคโนโลยี FTTH แนวทางการให้บริการแบบ FTTx

การให้บริการแบบ FTTx ถือเป็นแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง เพื่อรับส่งข้อมูลอัตราเร็วสูงไปยังผู้บริโภค ทั้งกลุ่มประชาชนตามบ้านเรือน และกลุ่มธุรกิจ โดยมองว่าเป็นทางเลือกใหม่เพื่อทดแทนการเดินคู่สายโทรศัพท์ทองแดงที่มีข้อจำกัดในเรื่องของแบนด์วิดท์ไปยังกลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ในการประยุกต์ใช้งานจะมีชื่อเรียกรูปแบบในการวางสถาปัตยกรรมคู่สายใยแก้วนำแสงที่แตกต่างกันออกไปได้ 4 ประเภท คือ FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH Fiber To The Node (FTTN) หรือ Fiber To The Cabinet (FTTCab) บางครั้งอาจเรียกว่า Fiber To The Neighborhood เป็นการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ไปสิ้นสุดยังตู้กระจายสัญญาณโทร คมนาคม (Cabinet) จากนั้นจึงทำการกระจายสัญญาณผ่านคู่สายโคแอกเชียลไปยังที่พักอาศัยของผู้ใช้ บริการแต่ละราย ในทางปฏิบัติจะมีการติดตั้งคู้กระจายสัญญาณโดยพิจารณาให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ ใช้บริการเป้าหมายภายในรัศมี 1,500 เมตร อย่างไรก็ตามหากรัศมีการกระจายสัญญาณของตู้กระจายมีระยะทางต่ำกว่า 300 เมตร ก็จะเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า Fiber To The Curb (FTTC) ทั้งนี้ผู้ให้บริการสามารถเลือกให้บริการสื่อสารแบบบรอดแบนด์ระหว่างตู้ กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการ โดยอาศัยโพรโทคอลได้หลากหลายประเภท เช่น Broadband Cable Access ตามมาตรฐาน Data Over Cable Service Interface Specification (DOCSIS) รวมถึงการให้บริการตามมาตรฐาน DSL ทั่วไป สถาปัตยกรรมแบบ FTTN นี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากคู่สายโคแอกเชียลหรือแม้กระทั่งสายทอง แดงที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่แต่เดิมให้ได้มากที่สุด เป็นการลดต้นทุนในการรื้อเปลี่ยนโครงข่ายกระจายสัญญาณใหม่ แต่ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการ ต่ำสุดเมื่อเทียบกับบรรดาเทคโนโลยีในกลุ่ม FTTx ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการพึ่งพาขีดความสามารถที่มีอยู่จำกัดของคู่สายกระจาย ที่มีแต่เดิมนั่นเอง Fiber To The Curb (FTTC) บางครั้งมีชื่อเรียกว่า Fiber To The Kurb (FTTK) เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจาก FTTN ตรงที่มีการติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ใกล้กับกลุ่มผู้ใช้บริการมาก (โดยทั่วไปนิยามไว้ที่ระยะห่างจากกลุ่มผู้ใช้บริการไม่เกิน 300 เมตร) และเนื่องจากยังคงเป็นการใช้ประโยชน์จากคู่สายทองแดงและสายโคแอกเชียลที่มีอยู่แต่เดิมในการกระจายรับส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการปลายทาง แม้จะย่นระยะห่างระหว่างตู้กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการให้ใกล้เข้ามากว่าสถาปัตยกรรม FTTN แต่สถาปัตยกรรมแบบ FTTC ก็ยังคงมีข้อจำกัดในแง่ของอัตราเร็วในการสื่อสารอันเนื่องจากคุณลักษณะของคู่สายกระจายสัญญาณอยู่ เพียงแต่มีโอกาสที่จะให้บริการได้ด้วยอัตราเร็วที่เหนือกว่า FTTN Fiber To The Home (FTTH) และ Fiber To The Building (FTTB) ซึ่งทั้ง 2 สถาปัตยกรรมมักได้รับการเรียกชื่อรวมๆ กันว่า Fiber To The Premise (FTTP) ล้วนเป็นการใช้ประโยชน์จากการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ตรงไปสิ้น สุดยังอาคารที่พักอาศัยหรืออาคารสำนักงาน เพื่อลดการเชื่อมต่อกับคู่สายทองแดงหรือโคแอกเชียลที่มีอยู่แต่เดิมโดยสิ้น เชิง ทั้งนี้เน้นให้ใช้ประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูลอัตราเร็วสูงผ่านคู่สายใย แก้วนำแสงให้ได้มากที่สุด โดยข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี FTTH และ FTTB อยู่ที่ตำแหน่งของจุดกระจายสัญญาณ ซึ่ง FTTP จะติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งภายในอาคาร จากนั้นจึงกระจายสัญญาณผ่านสายโคแอกเชียลไปยังผู้บริโภคแต่ละรายภายในอาคาร ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ FTTH จะแยกกระจายคู่สายใยแก้วนำแสงไปยังห้องหรือตำแหน่งใช้งานของผู้บริโภคแต่ละ ราย ซึ่งภายในแต่ละจุดนั้นจะมีการติดตั้งกล่องแปลงสัญญาณ (ONT – Optical Network Terminator) จากสัญญาณ แสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จึงถือว่าสถาปัตยกรรมแบบ FTTH มีการรับประกันอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการปลายทางได้สูง ที่สุดเทียบกับสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ ในตระกูล FTTxโครงสร้างทางเทคนิคของสถาปัตยกรรมโครงข่าย FTTH ซึ่งอาศัยเทคโนโลยี PON ในการช่วยกระจายสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการแต่ละราย โดยในด้านซ้ายมือของรูปจะเห็นว่ามีการรวมสัญญาณหรือบริการหลายๆ ประเภทเข้าด้วยกันผ่านทางอุปกรณ์รวมสัญญาณที่ต้นทาง เพื่อทำการส่งสัญญาณเข้าเหล่านั้นผ่านคู่สายใยแก้วนำแสงก่อนที่จะกระจาย สัญญาณเหล่านั้น ณ จุดปลายทางไปยังผู้ใช้บริการแต่ละราย ซึ่งตัวอย่างบริการที่แสดงนี้ถือเป็นกลุ่มของบริการแบบ Triple Play (เสียง, ข้อมูล และมัลติมีเดีย) ซึ่งเมื่อสัญญาณเหล่านี้ถูกส่งผ่านคู่สายใยแก้วนำแสงและกระจายต่อไปยัง อุปกรณ์ปลายทางแล้วก็จะถูกแปลงกลับมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าผ่านทางอุปกรณ์ ONU หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ONT ก็ได้ พร้อมให้บริการข้อมูลแบบ Triple Play ตามที่มีการรวมสัญญาณส่งมาจากสื่อต้นทาง โครงสร้างของโครงข่าย FTTH ใน จึงประกอบไปด้วยอุปกรณ์ OLT (Optical Line Terminal) ที่ทำการรับสัญญาณจากแหล่งต้นทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์ที่ถูกส่งแบบมัลติเพล็กซ์ (Time Division Multiplexing) มาจากชุมสายโทรศัพท์และมีโพรโทคอล GR-303 ที่กำกับควบคุมทราฟฟิคข้อมูลสัญญาณโทรศัพท์ระหว่างชุมสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ OLT นอกจากนี้อุปกรณ์ OLT ยังทำการติดต่อกับเราท์เตอร์ซึ่งทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เชื่อมต่อกับโครงข่าย อินเทอร์เน็ตหรือแม้กระทั่งเครือข่าย WAN เฉพาะกิจต่างๆ โดยผ่านทางโพรโทคอล Gigabit Ethernet (GigE) และในท้ายที่สุดหากมีการให้บริการโทรทัศน์หรือรายการแบบมัลติมีเดียใดๆ อุปกรณ์ OLT ก็จะได้รับการเชื่อมต่อเข้ากับสื่อสัญญาณโทรทัศน์ โดยผ่านทางโพรโทคอลมาตรฐานเช่น MPEG over IP สัญญาณต่างๆ เหล่านี้จะถูกรวมส่งผ่านคู่สายใยแก้วนำแสงซึ่งมีการบริหารจัดการข้อมูลโดย ใช้เทคโนโลยี PON ไม่ว่าจะเป็น GPON หรือ EPON เพื่อให้สามารถส่งกระจายช่องสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการได้ตามต้องการ ซึ่งอุปกรณ์ ONU หรือ ONT ที่ติดตั้งอยู่ตามที่พักอาศัยหรือสำนักงานของผู้บริโภคก็จะทำหน้าที่แยก ประเภทของสัญญาณข้อมูล (เสียง, ข้อความ, ภาพ) ออกตามประเภทของการเชื่อมต่อ เช่น เสียงออกทางสายนำสัญญาณโทรศัพท์แบบ POTS (Plain Old Telephone Service) หรือสายโทรศัพท์แบบทองแดงนั่นเอง ส่วนข้อมูลต่างๆ จะถูกเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ตแบบ 10/100/1000 Base T หรือสาย LAN ที่รู้จักกันทั่วไป ในขณะที่สัญญาณภาพหรือรายการโทรทัศน์จะถูกเชื่อมต่อผ่านไปยังกล่องควบคุม Set Top Box เป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์ ONU/ONT ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องตลาดปัจจุบัน เมื่อกล่าวมาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่า FTTH เป็นช่องทางในการรวมรูปแบบการให้บริการทั้งสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication) และสื่อสารมวลชน (Mass Communication) โดยอาศัยจุดเด่นในเรื่องการสื่อสารข้อมูลแบบบรอดแบนด์และคุณสมบัติของเทคโนโลยี PON ในการประหยัดคู่สายใยแก้วนำแสงโดยสามารถกระจายคู่สายใยแก้วออกไปยังผู้ใช้บริการปลายทางจำนวนมากได้ ซึ่งหมายความถึงความสะดวกและประหยัดของผู้ให้บริการเครือข่ายในการพิจารณาลงทุนสร้างโครงข่าย FTTH และยังหมายถึงความสะดวกสบายของผู้ใช้บริการ ก่อนที่จะกล่าวถึงมุมมองในเชิงกลยุทธ์การลงทุนในเทคโนโลยี FTTH (หรือ FTTB ก็สุดแท้แต่จะเรียก) ขอให้พิจารณารูปที่ 6 ซึ่งเป็นการสะท้อนอัตราการเติบโตของตลาดผู้บริโภค FTTH ในสหรัฐอเมริกา อันเป็นข้อมูลอ้างอิงจากบริษัท Render Vanderslice & Associates จะเห็นว่ามียอดผู้ใช้บริการ FTTH มากกว่า 1 ล้านครัวเรือนภายในเดือนกันยายน 2549 ซึ่งยังถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมากเมื่อเทียบกับตัวเลขฐานผู้ใช้โทรศัพท์ที่มีมากกว่า 100 ล้านครัวเรือน รูปดังกล่าวถือเป็นการสะท้อนโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาปรับเปลี่ยนโครงข่ายการสื่อสารจากสายนำสัญญาณแบบ POTS ซึ่งใช้คู่สายทองแดงไปเป็นยุคทองของการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงทั่วโลก

การเรียนรู้สู่เทคโนโลยี FTTH

การวางโครงข่าย FTTC : ในบางครั้งผู้ให้บริการอาจประสบปัญหาว่ามีความยากลำบาก หรือมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงหากจะต้องเปลี่ยนคู่สายโทรคมนาคมเดิม อาทิเช่น คู่สายโทรศัพท์แบบทองแดง ที่มีการเชื่อมต่อเข้าไปหรืออยู่ภายในอาคารปลายทาง หรืออยู่ในบริเวณชุมชนกลุ่มเป้าหมาย มาเป็นคู่สายใยแก้วนำแสง ในกรณีนี้การเลือกกำหนดวางโครงข่ายแบบ FTTC ไปยังแหล่งชุมชนเป้าหมายน่าจะมีความได้เปรียบกว่า โดยผู้ให้บริการจะทำการติดตั้งอุปกรณ์สวิทชิ่งเพื่อทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงที่ขนถ่ายข้อมูลผ่านคู่สายในแก้วนำแสงมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปยังคู่สายท้องถิ่นในรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลบรอดแบนด์ชนิดที่เหมาะสมกับคู่สายท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งโดยทั่วไปก็น่าจะเป็นการรับส่งสัญญาณแบบ DSL ในกรณีที่ส่งผ่านคู่สายโทรศัพท์ชนิดทองแดง นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีทางเลือกใหม่ๆ ในการรับส่งสัญญาณโดยใช้มาตรฐาน IEEE802.3ah ซึ่งมีชื่อเรียกในเชิงการค้าว่า Ethernet in the First Mile ช่วยให้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงกว่าการใช้เทคโนโลยี DSL ทั้งนี้ผู้ให้บริการยังสามารถพัฒนาโครงข่าย FTTC ไปเป็น FTTH ได้ในทันทีที่สามารถวางหรือเปลี่ยนโครงข่ายการเชื่อมต่อไปยังจุดปลายทางท้องถิ่นไปเป็นคู่สายใยแก้วได้ทั้งหมดในภายหลัง ตัวอย่างโครงข่ายแบบ FTTC

FTTH กับการเติบโตในเชิงพาณิชย์

ปัจจุบันตลาด FTTH กำลังอยู่ในช่วงขยายตัว โดยมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองความต้องการบริโภคสื่อข้อมูลแบบบรอดแบนด์ กล่าวได้ว่าบริการเพื่อสาระและความบันเทิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการโทรทัศน์ดิจิทัลความคมชัดสูง หรือ HD-TV (High Definition Television) รวมถึงรูปแบบการให้บริการบรอดแบนด์ที่ต่อยอดอย่างเช่น การให้บริการโทรทัศน์แบบ on Demand TV และการบริโภคสื่อดิจิทัลอื่นๆ เช่น การรับฟังรายการเพลงแบบออนไลน์ การดาวน์โหลดเพลงและสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เพิ่มความต้องการแบนด์วิดท์สำหรับการรับส่งข้อมูลให้แก่บ้านพักอาศัยยุคใหม่ แสดงถึงสัดส่วนครัวเรือนที่ใช้บริการสื่อสารแบบ FTTH และ FTTB ในบรรดากลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ จะเห็นว่าประเทศในกลุ่มเอเชียอย่างฮ่องกงและเกาหลีใต้ ซึ่งมีความหนาแน่นของประชากรสูง มีสัดส่วนการแพร่กระจายของเทคโนดลยี FTTB สูงเป็นอันดับต้นๆ (เชื่อมต่อใยแก้วนำแสงไปยังตึกที่พักอาศัย เพื่อกระจายสัญญาณผ่านคู่สายทองแดงไปยังห้องพัก) เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำในขนาดของตลาด FTTH ในขณะที่ประเทศทางตะวันตกส่วนใหญ่ยังมีการแพร่กระจายของเทคโนโลยีดังกล่าวค่อนข้างต่ำ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการบริโภคและความต้องการบริการแบบบรอดแบนด์ที่ยังต่ำกว่าฝากฝั่งเอเชียอยู่มาก สิ่งที่น่าสนใจก็คือการเติบโตของตลาด FTTH ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อพิจารณาตามรูปที่ 12 แล้วจะเห็นว่า FTTH มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องนับแต่ไตรมาสสุดท้ายของ พ.ศ. 2548 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผู้ใช้บริการ FTTH แล้วถึง 10 ล้านครัวเรือน โดยมีผู้สมัครใช้บริการ FTTH เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเดือนละ 300,000 ราย และคาดว่าจะมีการเติบโตในอัตราที่สูงขึ้นต่อไป ในขณะที่ยอดการขยายตัวของเทคโนโลยีเชื่อมต่อแบบ DSL เริ่มมีการลดถอยลง อันเนื่องมาจากการขอเปลี่ยนบริการไปสู่เทคโนโลยี FTTH โดยมีตัวเลขเฉลี่ยที่ 60,000 รายต่อเดือน ในขณะที่ตลาด FTTH ในสหรัฐอเมริกาก็มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ด้วยปัจจัยของการขยายตัวจากตลาดบริโภคสื่อแบบดิจิทัล โดยปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวเกือบเท่าตัวในทุกๆ 2 ไตรมาส ดังรายละเอียดในรูปที่ 12 ในขณะที่อัตราการขยายตัวของเทคโนโลยี FTTH ในกลุ่มประเทศยุโรปเป็นไปอย่างเชื่องช้า ส่วนหนึ่งนอกจากพฤติกรรมการบริโภคสื่อแบบมัลติมีเดียบรอดแบนด์ที่ค่อนช้างต่ำเมื่อเทียบกับในทวีปเอเชียแล้ว ยังมีผลมาจากการข้อกำหนดของหน่วยการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมที่หลายๆ ประเทศยังอยู่ในขั้น ตอนของการวางและปรับปรุงแก้ไขกรอบกำหนดอยู่ จากรูปที่ 14 พบว่าในช่วงปลาย พ.ศ. 2549 ทั่วทวีปยุโรปมีฐานผู้ใช้บริการ FTTH รวมกันประมาณ 1 ล้านครัวเรือน และร้อยละ 90 ของผู้ใช้บริการกระจุกตัวอยู่ใน 4 ประเทศหลัก คือ สวีเดน อิตาลี เนธอร์แลนด์ และเดนมาร์ค ผู้ที่ผลักดันโครงการ FTTH โดยส่วนใหญ่ก็มิใช่บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคม หากแต่เป็นหน่วยงานปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานสาธารณูปโภค เช่น เทศบาลเมือง หรือผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้า เป็นต้น จึงทำให้มีข้อจำกัดทั้งในด้านการผลักดันตลาด และขีดความสามารถในการให้บริการสื่อที่ดึงดูดใจผู้ใช้บริการ

การเรียนรู้สู่เทคโนโลยี FTTH

ในภาพรวม เทคโนโลยี FTTH รวมถึง FTTB กำลังอยู่ในช่วงของการพิสูจน์ตนเองในแง่ขีดความสามารถที่จะรองรับพฤติกรรมการบริโภคข้อมูลข่าวสารในยุคบรอดแบนด์ดิจิทัล ซึ่งตลาดเอเชียน่าจะเป็นพื้นที่สำคัญในการทดสอบขีดความสามารถและพิสูจน์ถึงอนาคตของเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าเทคโนโลยี FTTH เป็นทางเลือกใหม่สำหรับการใช้ชีวิต ในยุคบรอดแบนด์ ตารางที่ 2 แสดงการคำนวณความต้องการแบนด์วิดท์ขั้นต่ำในการรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบบรอดแบนด์สำหรับบ้านพักอาศัยขนาดเล็กซึ่งมีสมาชิกครอบครัวไม่มากนัก เช่น 3 คน พ่อแม่ลูก โดยตั้งสมมติฐานความต้องการพื้นฐานในการบริโภคสื่อบันเทิงในช่วงเย็นวันศุกร์ที่สมาชิกทั้งหมดจะอยู่รวมกันในบ้าน และมีความต้องการรับชมภาพยนตร์ความคมชัดสูง (HD TV) ไปพร้อมๆ กับการสั่งบันทึกสัญญาณ HD TV อีกหนึ่งช่อง ในขณะที่สมาชิกอีกรายหนึ่งแยกไปรับชมรายการโทรทัศน์แบบดิจิทัลปกติ ส่วนสมาชิกที่เหลือซึ่งอาจเป็นลูกสาวกำลังเพลิดเพลินกับรายการมิวสิควิดีโอออนไลน์ไปพร้อมๆ กับการดาวน์โหลดเพลงแบบ MP3 และมีการสนทนากับเพื่อนผ่านทางโทรศัพท์แบบเห็นหน้าได้ ผลจากการคำนวณและเผื่อแบนด์วิดท์เป็นบัฟเฟอร์ (buffer) สำรอง พบว่าครอบครัวในลักษณะนี้ต้องการการเชื่อมต่อสำหรับรับส่งข้อมูลที่มีอัตราเร็วอย่างน้อย 31.6 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเทคโนโลยีสื่อสารแบบบรอดแบนด์อย่าง DSL และ Cable Modem ไม่สามารถรองรับได้ จึงเป็นปัจจัยความต้องการทางตลาด (Market Demand) ที่ช่วยดึงให้เทคโนโลยีอย่าง FTTH และ FTTB มีโอกาสขยายตัวได้สูงตัวอย่างการคำนวณอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลสำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน


ประเภทของบริการ
อัตราเร็ว (เมกะบิตต่อวินาที)
ลำข้อมูลสัญญาณวิดีโอความคมชัดสูง (HD) สำหรับการรับชมในห้องนั่งเล่น
9.0
ลำข้อมูลสัญญาณวิดีโอความคมชัดสูง (HD) อีกช่องหนึ่งที่กำลังมีการบันทึกเก็บ
9.0
ลำข้อมูลสัญญาณโทรทัศน์ในห้องนอน
2.5
การรับชมบริการมิวสิควิดีโอแบบ Video-on-demand ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.5
ดาวน์โหลดเพลงในรูปแบบ MP3
2.0
ใช้บริการโทรศัพท์แบบเห็นหน้า
1.3
อัตราเร็วรวมในการรับส่งข้อมูล
26.3
บวกเพิ่มบัฟเฟอร์อีก 20 เปอร์เซ็นต์
5.26
อัตราเร็วรวมสุทธิ
31.6

หากเปรียบเทียบขีดความสามารถระหว่างเทคโนโลยี FTTH และ DSL อย่างง่ายๆ จะพบว่า ในการดาวน์โหลดไฟล์ภาพยนตร์แบบ DVD ขนาด 6.5 กิกะไบต์ โดยใช้เทคโนโลยี DSL ที่มีอัตราเร็วเฉลี่ย 10 เมกะบิตต่อวินาที จะต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดถึง 1 ชั่วโมง 44 นาที ในขณะที่การดาวน์โหลดข้อมูลเดียวกัน โดยใช้เทคโนโลยี FTTH อัตราเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาทีจะใช้เวลาเพียง 8.6 นาทีเท่านั้น นอกจากนั้นหากดาวน์โหลดไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ถึง 25 กิกะไบต์ การดาวน์โหลดผ่านโครงข่าย DSL จะใช้เวลานานถึง 5 ชั่วโมงครึ่ง ในขณะที่ใช้เวลาเพียง 33 นาทีผ่านการดาวน์โหลดบนโครงข่าย FTTH ด้วยขีดความสามารถในการรองรับแบนด์วิดท์สื่อสารข้อมูลอันมหาศาลของเทคโนโลยี FTTH นี้ จึงส่งผลให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เกมออนไลน์ การอัพโหลดหรือดาวน์โหลดข้อมูลและสื่อมัลติมีเดียต่างๆ การทำงานจากระยะไกล บริการสื่อสารผ่านวิดีโอ และการให้บริการมัลติมีเดียแบบปฏิสัมพันธ์ เข่น การเข้าร่วมเล่นเกมโทรทัศน์จากที่บ้าน โดยสามารถส่งภาพเคลื่อนไหวของผู้ชมไปปรากฏบนจอ ฯลฯ ดังแสดงใน เหล่านี้ล้วนเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของการใช้ชีวิตในโลกบรอดแบนด์ที่เกิดขึ้นได้ และจะทวีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ภายใต้โครงข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพเพียงพอ เทคโนโลยี FTTH และเทคโนโลยีอื่นๆ ในสายตระกูลเดียวกัน จึงอาจเป็นคำตอบให้กับการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ พัฒนาการของการรับส่งข้อมูลผ่านู่สายใยแก้วนำแสงยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่การผลักดันในปัจจัยเสริมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของการสื่อสารผ่านใยแก้ว ต้นทุนในการวางโครงข่าย ผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนร่วมในการผลักดันโครงการ FTTH ไปจนถึงการปลุกกระแสและสร้างความเข้าใจต่อผู้บริโภคในอันที่จะเปิดรับการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ ของโลกมัลติมีเดีย เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสริมที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าความพร้อมทางเทคโนโลยี บทความพิเศษเรื่อง “ปฐมบทแห่งการเรียนรู้สู่เทคโนโลยี FTTH” น่าจะให้มุมมองที่ชัดเจนขึ้นของพัฒนาการสื่อสารแบบใช้สายที่กำลังมีผลพลิกโลกการบริโภคสื่อมัลติมีเดีย ผู้เขียนจะขอนำเสนอกรณีศึกษาของการให้บริการ FTTH ในประเทศอื่นๆ ที่น่าจะเป็นช่วยผลักดันการเกิดขึ้นและเติบโตของเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศไทยในโอกาสต่อไป